เป็นแผนที่ว่าด้วยการพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิตและใช้สารสนเทศ อย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน โดยมีความสำคัญ คือ
1 พัฒนาผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้มีทักษะ และคุณภาพตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
2. พัฒนาบุคลากร ICT ที่ปฏิบัติงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ในปัจจุบัน ให้มีความรู้ ทักษะ และศักยภาพสูงขึ้นโดยสร้างแรงจูงใจในการเข้ารับการฝึกอบรมและสอบมาตรฐาน วิชาชีพที่มีการกำหนดไว้ในระดับสากล และกำหนดกลไกเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี
3. พัฒนาบุคลากรในสาขาวิชาชีพอื่นๆ และบุคคลทั่ว ไป ดังนี้
3.1 ส่งเสริมให้มีการนำ ICT เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนการศึกษาในระบบทุกระดับ โดยมุ่งเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสำคัญ
3.2 พัฒนาการเรียนรู้ ICT นอกสถาบันการศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ ICT ของชุมชนทีมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย มีการฝึกอบรมให้แก่ผู้ใช้บริการ มีบริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งความรู้/ข้อมูลทั้งจากส่วน กลาง และข้อมูลท้องถิ่นนอกจากนี้แผนแม่บทเทคโนโลยีและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2552 – 2556) ยังกล่าวถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อยกระดับการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน ด้วยการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงข่าย ICT เพื่อการศึกษา การจัดสรรงบประมาณด้าน ICT ให้แก่โรงเรียนที่ครอบคลุมทั้ง ค่าอุปกรณ์ ค่าบริการ และค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากรอย่างสมดุล สำหรับการศึกษานอกระบบและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐาน ICT ที่เหมาะสมสำหรับสถานบริการ เช่น ห้องสมุดประจำท้องถิ่น ศูนย์สารสนเทศชุมชน เพื่อให้สามารถให้บริการอิเล็กทรอนิกส์และเสริมสร้างการเรียนรู้ให้แก่บุคคล กลุ่มอื่นๆ ในชุมชน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาเนื้อหาที่เป็นภาษาไทยและเนื้อหาที่เกี่ยว ข้องกับท้องถิ่น ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา การงานอาชีพสุขภาพและสาธารณสุข ของชุมชน และการพัฒนาการเรียนรู้ ICT แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ การจัดทำและเผยแพร่อุปกรณ์ICT ทั้ง ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีสิ่ง อำนวยความสะดวก สื่อการเรียนรู้ เนื้อหาสาระสำหรับผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ และใช้มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสเหล่านั้นสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างเท่า เทียม รวมถึง การทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับผู้พิการ และการฝึกอบรมความรู้ด้าน ICT แก่ผู้สูงอายุและประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ให้มีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในระดับสามัญที่มีคุณภาพและความรู้ เช่นเดียวกับการศึกษาในระบบการศึกษา เนื่องจากประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีโอกาสน้อยกว่าประชาชนที่อยู่ในเมือง จึงมีการช่วยเหลือกลุ่มคนด้อยโอกาสดังกล่าวผ่านโครงการต่างๆ ทั้งของภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรเอกชนอย่างไม่มุ่งผลกำไร เช่น โครงการไอที ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการไอทีเพื่อคนพิการ โครงการไอทีเพื่อเด็กป่วยเรื้อรัง และโครงการไอทีเพื่อผู้ต้องขัง โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้องเล็กของกระทรวง ICT และการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น